ถุงมือที่ใช้ป้องกันในโรงพยาบาล…เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ ถือว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ว่าจะเป็นตัวแพทย์โดยตรง, พยาบาล หรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาล จะต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรคด้วยกันทั้งนั้น การใช้งานถุงมือเพื่อป้องกันเชื้อภายในโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญอย่างมาก จำเป็นต้องเลือกถุงมือที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีและไม่ทำให้เชื้อแพร่กระจายสู่ตัวผู้สวมใส่ พร้อมทำให้การป้องกันและการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของถุงมือที่ใช้ในโรงพยาบาล
การทำงานในโรงพยาบาลของบุคลากรทุกสายอาชีพ ย่อมมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อมากกว่าอาชีพอื่น ๆ แน่นอน ไม่ใช่เพียงแค่เชื้อไวรัสโควิด 19 เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายเชื้อที่มาพร้อมกับโรคต่าง ๆ ของผู้ป่วย ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ป้องกันภายในโรงพยาบาลจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์ที่ต้องมีทุกโรงพยาบาลและต้องเลือกใช้แบบมีมาตรฐาน คือ ถุงมือ เพราะส่วนของนิ้วมือ, ฝ่ามือ รวมไปถึงข้อมือ เป็นจุดที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อได้มากที่สุด ซึ่งความสำคัญของถุงมือยังมีอีกหลากหลายด้าน คือ
- ลดปัญหาการติดต่อของเชื้อไปสู่ผู้อื่นมากขึ้น
- ลดปัญหาการติดเชื้อของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ในขณะที่รักษาหรือดูแลผู้ป่วย
- ช่วยป้องกันการสัมผัสกับสารเคมีอันตรายโดยตรง
- ถ้าต้องใช้เครื่องมือใด ๆ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เมื่อใช้ถุงมือแล้วจะลดความอันตรายลงได้
- ทำให้หยิบจับอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ง่าย สะดวก และติดมือมากขึ้น
- เมื่อต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย รวมไปถึงสิ่งขับถ่ายที่ปนเปื้อนเชื้อ ถุงมือจะเป็นตัวช่วยสำคัญลดความเสี่ยงเชื้อเข้าสู่ตัวผู้สัมผัสได้มากเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
- ถุงมือที่ดีและมีคุณภาพ ขณะที่สวมใส่อยู่จะไม่ฉีกขาดง่ายเกินไป
- ถ้าถุงมือถูกผลิตมาจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน จะทำให้การทำลายเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้นและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เลือกถุงมืออย่างไรให้เหมาะสมต่อการใช้งานในโรงพยาบาล
การเลือกใช้ถุงมือสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล จำเป็นจะต้องเลือกจากการผลิตที่ได้มาตรฐาน วัสดุมีคุณภาพและเป็นโรงงานผลิตที่ผ่านการรับรองมาเป็นอย่างดี เพื่อให้มั่นใจต่อการใช้งานถุงมือมากขึ้น ดังนั้นลองมาดูว่าถุงมือใช้ในโรงพยาบาลมีแบบใดบ้างที่ใช้งานได้อย่างเหมาะสม
1.ถุงมือสำหรับผ่าตัด
ถุงมือสำหรับการผ่าตัดจะผ่านการฆ่าเชื้อหรือการสเตอริไรส์ เพื่อทำให้มีความสะอาดมากที่สุดและจะถูกเก็บไว้เป็นอย่างดี มีหลายไซส์ให้เลือก โดยจะเป็นทั้งแบบมีแป้งและไม่มีแป้ง เน้นการผลิตจากยางธรรมชาติเท่านั้น พร้อมการผ่านกรรมวิธีปราศจากเชื้อด้วยการใช้ก๊าซเอทิลีนออกไซด์ โดยทั่วไปถุงมือในลักษณะนี้จะถูกเก็บไว้ภายในซองที่จะมีการระบุขนาด, คำเตือน และส่วนประกอบต่าง ๆ เมื่อฉีกออกมาใช้แล้วจะใช้งานได้แค่ครั้งเดียวแล้วทิ้งทันทีหลังเสร็จงาน
2.ถุงมือสำหรับตรวจโรค
ถุงมือสำหรับการตรวจโรคจะแตกต่างจากถุงมือผ่าตัด เพราะแบบตรวจโรคจะเป็นเนื้อยางพาราปกติ ราคาจะถูกกว่าแบบผ่าตัด มีความยืดหยุ่นดี สามารถสวมใส่ได้ง่าย แต่พื้นผิวภายนอกของถุงมือจะมีความฝืดพอสมควร จะเป็นรูปแบบถุงมือแพทย์ชนิดไม่ฆ่าเชื้อ จึงสามารถใช้งานทั่วไปได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานด้านอิเล็กทรอนิกส์, อาหาร, อุตสาหกรรม หรือห้องแลป และเป็นชนิดแบบใช้แล้วทิ้งทันที
3.ถุงมือไนไตร
ถุงมือยางจากไนโตรจะผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ที่ไม่ใช่น้ำยางธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องอาการแพ้น้ำยาง ให้คุณสมบัติด้านการทนทานต่อสารเคมีและเชื้อต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ให้ความเหนียว ทนทาน และแข็งแรง รวมไปถึงความยืดหยุ่นที่ถือว่าใช้ได้ มีความแข็งแกร่งกว่าถุงมือยางทั่วไป โดยจะผลิตออกมาเป็นถุงมือชนิดบาง เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น
4.ถุงมือชนิดมีแป้งและไม่มี
ถุงมือที่ใช้ทางการแพทย์จะมีทั้งแบบใส่แป้งและไม่ใส่แป้ง สำหรับชนิดใส่แป้งจะป้องกันเรื่องความอับชื้น สวมใส่ได้ง่าย ส่วนแบบไม่มีแป้งจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาแพ้แป้ง แต่การสวมใส่อาจจะยากกว่า เพราะมีความหนืดมากพอสมควร
ถุงมือทางการแพทย์นั้นจำเป็นจะต้องผ่านการผลิตที่มีความปลอดภัย แข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี และให้การใช้งานที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ ต่อบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมช่วยลดการติดเชื้อ เพื่อทำให้ผู้ที่ทำงานได้รับความปลอดภัยอย่างสูงสุด ดังนั้นจึงไม่ควรเลือกแบบราคาถูกมาใช้ แต่ควรเลือกแบบคุณภาพสูงเท่านั้น เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีที่สุดนั่นเอง
…………………………………………………………………………………